ReadyPlanet.com
dot dot
ความรู้เรื่อง กรุ๊ปเลือด

 

  Immunohematology : Blood group

 

 

 

--------------------------------------------------------------------------------
เม็ดเลือดแดง (Red blood cell) เม็ดเลือดแดงก็คล้ายกับเซลอื่นๆของร่างกาย บนผิวเซลเม็ดเลือดแดงจะมี
แอนติเจนซึ่งไม่เหมือนกันในคนทุกคน ถ้านำเม็ดเลือดแดงของคนๆหนึ่งไปให้กับอีกคนหนึ่งที่มีเม็ดเลือดแดงที่มี
แอนติเจนบนผิวแตกต่างกัน จะให้เกิดปฏิกริยาผิดปกติ (Immunological disease) ขึ้นได้ แอนติเจนที่
อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงมีหลายพวก ทำให้เกิดเป็นหมู่เลือด (Blood group) ออกได้เป็นหลายระบบ ได้แก่

 - หมู่โลหิต เอ บี โอ ( ABO system)

 - หมู่โลหิต Rh ( Rh system)

 - หมู่โลหิตเลวิส ( Lewis system)

 - หมู่โลหิต Ii (Ii system)

 - หมู่โลหิต Mn ( Mn system)

 - หมู่โลหิต P ( P system)

 - หมู่โลหิต Kell ( Kell system)

 - หมู่โลหิต Kidd ( Kidd system)

 - หมู่โลหิต Duffy ( Duffy system)

ระบบหมู่เลือดที่สำคัญและก่อให้เกิดปัญหาทางการแพทย์ได้บ่อย โดยเฉพาะในการให้เลือดคือหมู่ ABO
และหมู่ Rh
--------------------------------------------------------------------------------
ระบบหมู่เลือด ABO
เป็นหมู่เลือดที่สำคัญที่สุดในการให้เลือด (blood transfusion)  เป็นระบบที่พบก่อน
ระบบอื่นๆโดย Landsteiner พ.ศ. 2443 จากการทดลอง Landsteiner สรุปได้ว่ามี
หมู่เลือดอยู่ 4 หมู่เมื่อคำนึงถึงการมีแอนติเจน A และแอนติเจน B ดังนี้

หมู่เลือด
Bl.gr.

แอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง
Antigen

แอนติบอดีย์ในซีรั่ม
Antibody

การกระจายในคนไทย
Population

A

A

anti-B

22 %

B

B

anti-A

33 %

AB

A และ B

-

8 %

O

H

anti-A และ anti-B

37 %

คนที่มีหมู่เลือด เอ จะมีแอนติเจน A อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง และมีแอนติบอดีย์ต่อ B อยู่ในซีรั่ม (น้ำเหลือง)
คนที่มีหมู่เลือด บี จะมีแอนติเจน B อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง และมีแอนติบอดีย์ต่อ A อยู่ในซีรั่ม (น้ำเหลือง)
ดังนั้นซีรั่มของคนหมู่เลือด เอ จะทำให้เม็ดเลือดแดงของคนหมู่เลือด บี เกิดการจับกลุ่ม
กลับกันซีรั่มของคนหมู่เลือด บี จะทำให้เม็ดเลือดแดงของคนหมู่เลือด เอ เกิดการจับกลุ่ม
คนหมู่เลือด เอบี มีแอนติเจนทั้ง A และ B อยู่บนเม็ดเลือดแดง ส่วนในซีรั่มจะไม่มีแอนติบอดีย์ต่อแอนติเจน A
และทั้งแอนติบอดีย์ต่อแอนติเจน B
คนหมู่เลือด โอ บนเม็ดเลือดแดงไม่มีทั้งแอนติเจน A และแอนติเจน B แต่ในซีรั่มจะมีทั้งแอนติบอดีย์ต่อ
แอนติเจน A และแอนติเจน B

Sub group
ที่สำคัญทางการแพทย์คือ sub group A (หมู่เลือดย่อย) โดยส่วนใหญ่ของคนหมู่เลือด เอ
จะเป็น subgroup A1 รองลงมาเป็น subgroup A2   ส่วน subgroup A3, A4, Am, Ax พบได้น้อย
มากๆ  บนผิวเม็ดเลือดแดงของ subgroup A1 จะมีแอนติเจนทั้ง A1 และ A2 เมื่อทำปฏิกริยากับ Anti A
sera
จะเกิดการจับกลุ่มได้ดี  ส่วนเม็ดเลือดแดงของ subgroup A2 บนผิวเม็ดเลือดแดงจะมีแอนติเจน A2
เพียงอย่างเดียว เมื่อทำปฏิกริยากับ Anti A sera จะจับกลุ่มได้ไม่ดีนัก (ขนาดตะกอนกลุ่มเล็กกว่าแบบ A1) 

H Antigen
เป็นแอนติเจนที่พบได้บนผิวเม็ดเลือดแดงทุกหมู่ แต่จะมีปริมาณมากที่สุดบนผิวเม็ดเลือดแดง
หมู่ โอ  โดยแอนติเจน H เป็นสารต้นกำเนิดของทั้งแอนติเจน A และแอนติเจน B  
โดยที่ A gene และ B gene มีหน้าที่กำหนดให้มี enzyme A transferase และ B transferase
ซึ่งจะไปทำปฏิกริยากับแอนติเจนให้เปลี่ยนไปเป็นแอนติเจน A และ แอนติเจน
บนผิวของเม็ดเลือดแดงหมู่ A ซึ่งจะมีแอนติเจน A และแอนติเจน ส่วนบนผิวของเม็ดเลือดแดงหมู่จะมีแอนติเจน B และแอนติเจน H
บนเม็ดเลือดแดงหมู่ AB จะมีทั้งแอนติเจน A แอนติเจน B และแอนติเจน H
บนเม็ดเลือดแดงหมู่ โอ จะมีแต่แอนติเจน H เพียงอย่างเดียว
ส่วนของแอนติเจน H จะถูกควบคุมโดย gene H และ gene h โดยที่  HH และHh genotype จะกำหนด
ให้มีแอนติเจน H บนผิวของเม็ดเลือดแดง ส่วน hh genotype จะกำหนดให้ไม่มีแอนติเจน H บนผิวเม็ดเลือด
แดง ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นไม่มีทั้งแอนติเจน A หรือแอนติเจน B ไปด้วย แม้ว่าจะมี ABO genotype เป็น
AA, AO, BB, BO, AB
ก็ตาม  ดังนั้นเมื่อนำเม็ดเลือดแดงของคนที่มีลักษณะ hh genotype มาทำปฏิกริยา
กับแอนติบอดีย์ต่อ A( anti-A sera) หรือกับแอนติบอดีย์ต่อ B (anti-B sera) จะไม่เกิดตะกอนการจับกลุ่ม
ขึ้น ทำให้ดูเหมือนว่าคนๆนั้นเป็นหมู่เลือด O ลักษณะดังกล่าวจัดเรียกว่าเป็นหมู่เลือดชนิด Bombay หรือ
( group O Bombay / Bombay phenotype)

 

แอนติเจน A แอนติเจน B และแอนติเจน H นอกจากจะปรากฏอยู่บนเม็ดเลือดแดงแล้ว ยังมีอยู่บน epithelial cell , endothelial cell และละลายอยู่ใน ซีรั่ม น้ำลาย น้ำย่อยในกระเพาะ น้ำย่อยจากตับอ่อน และเหงื่อ
คนส่วนมากจะมีแอนติเจนดังกล่าวละลายอยู่ในซีรั่มหรือน้ำคัดหลั่งต่างๆ เรียกบุคคลเหล่านี้ว่า Secretor
คนส่วนน้อยไม่มีแอนติเจนดังกล่าวละลายอยู่เรียกว่าเป็น non-secretor
Allele
ที่ควบคุมการเป็น secretor หรือ non-secretor คือยีน Se gene และ se gene โดยที่
   Se/Se
และ Se/se genotype จะแสดงลักษณะเป็น Secretor
   se/se genotype
จะแสดงลักษณะเป็น non-secretor
แอนติเจนที่ละลายอยู่ในซีรั่มหรือน้ำคัดหลั่ง กับแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของคนๆหนึ่งจะตรงกันเช่น
secretor
ที่มีหมู่เลือด เอ ในซีรั่มและน้ำคัดหลั่งจะมีแอนติเจน A และแอนติเจน H อยู่ จะไม่มีแอนติเจน B

หลักการให้เลือด 
ถ้าเรียนวิทยาศาสตร์ มาสมัยมัธยม จะมีหลักว่าเลือดของผู้ให้ จะต้องไม่มี Antigen ที่ผู้รับ มี Antibody นั้น
ดังนั้น คนหมู่เลือด O ซึ่งไม่มี Antigen และ แอนติบอดี้ สามารถให้เลือดได้ทุกหมู่เลือด แต่จะสามารถรับได้
เฉพาะหมู่เลือด O เท่านั้น 
ส่วนคนที่มีหมู่เลือด AB ไม่ควรให้เลือดแก่หมู่อื่นทั้ง A,B และ O เพราะมี Antigen ทั้ง A,B ถ้าให้แก่ผู้รับอาจจะเกิดการตกตะกอนของเลือดได้ แต่หมู่AB สามารถรับเลือดได้ทุกหมู่ 

แต่ในความเป็นจริง เวลาแพทย์จะให้เลือด จะต้องตรงหมู่กันเท่านั้น (ยกเว้นกรณีฉุกเฉินจำเป็นจริงๆ เท่านั้นจึงเลือกใช้เลือดอย่างที่บอกไว้ข้างบน) เนื่องจากถ้าถ้าเป็นเลือดต่างกรุ๊ป อาจจะทำปฏิกริยากัน ทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดได้ 

ยกตัวอย่างเช่น คนเลือด Gr AB รับเลือด Gr A มา แม้ว่า ตัวเองไม่มี Antibody A ไปทำลายเม็ดเลือดที่รับมา แต่ในน้ำเลือดคนให้มา จะมี Antibody B ซึ่งจะปฎิกริยากับ Antigen ของตัวเองได้
แม้แต่เลือดกรุ๊ปเดียวกัน ก็ยังมีโอกาส เป็นได้เช่นกัน แต่น้อยกว่า ดังนั้นก่อนให้เลือด จึงต้องเอาเลือดทั้งสองฝ่าย
มาตรวจสอบ ความเข้ากันได้ก่อน (Group matched)

ดังนั้นคนที่เลือดกรู๊ป AB ซึ่งน่าจะดี ที่รับเลือดได้ทุกกรุ๊ป กลับหาเลือดยากเนื่องจาก เลือดกรุ๊ปนี้มีอยู่ไม่ถึงห้าเปอร์เซนต์ของประชากรทั้งหมด เวลาต้องหากรุ๊ปเดียวกันตอนให้เลือด จึงหายากหน่อย ไม่ดีเหมือน ที่คิด

ส่วนพ่อ แม่กรุ๊ปใด จะมีลูก ที่มีเลือดกรุ๊ปใดได้บ้า 
ให้นึกภาพว่ายีนส์ ของคนนั้นจะมีสองอันประกบกันเป็นคู่ อันนึงได้จากแม่ อีกอันได้จากพ่อ และจะแยกตัว ออกเป็นสองข้าง ในเซลสืบพันธ์ เพื่อไปจับคู่กับอีกครึ่งหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม

ลักษณะของยีนส์ ในกรุ๊ปเลือดต่างๆ (โดยยีนส์นั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง)
    Group A    =
มียีนส์ AO หรือ AA
   Group B    =
มียีนส์ BO หรือ BB
   Group AB  =
มียีนส์AB
   Group O    =
มียีนส์ OO

ทีนี้มาดู ว่า พ่อ กับแม่ แม่กรุ๊ปใด ให้ลูก กรุ๊ปใด ได้บ้าง

กรณีที่ 1 ทั้งสองฝ่าย group A เหมือนกัน จะเป็นได้ดังนี้
ถ้าพ่อแม่เป็น AA+ AA ลูกจะเป็น AA ร้อยเปอร์เซนต์ (Group A ทั้งหมด) 
ถ้าพ่อแม่เป็น A0 +AA ลูกจะเป็น AO กับ AA อย่างล่ะครึ่ง( แต่ก็เป็น Gr A ทั้งหมด)
ถ้าพ่อแม่เป็น A0 + AO ลูกจะเป็น AO 50% กับ AA กับ OO อย่างล่ะ 25% (เป็น Gr A 75% กับ O 25%)

ในทางปฏิบัติ คนกรุ๊ป A เราไม่ทราบหรอกครับ ว่ามันเป็น AA หรือ AO แต่จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นแบบใด ลูกก็จะมีโอกาสเป็นได้แค่ Gr A หรือ O เท่านั้น

กรณีที่ 2 ทั้งสองฝ่ายกรุ๊ป B เหมือนกัน 
ก็ จะเหมือนกับ กรณีของ A ข้างบน แต่เปลี่ยนเป็น จาก A เป็น B เท่านั้น 

กรณีนี้ จะได้ลูกแค่ Gr B และ O เท่านั้น

กรณีที่ 3 ทั้งสองฝ่ายเป็น AB เหมือนกัน จะเป็นดังนี้
AB+AB
จะได้ ลูก AB 50% กับ AA และ BB อย่างล่ะ 25% 

กรณีนี้จะได้ลูก Gr AB 50% และ A กับ B อย่างล่ะ 25% ไม่มีกรุ๊ป O เลย

กรณีที่ 4 ทั้งสองฝ่ายกรุ๊ป O เหมือนกัน จะได้ ดังนี้
OO+OO
จะได้ลูก เป็น OO 100% 

กรณีนี้จะได้แต่ลูกกรุ๊ป O เท่านั้น ไม่มีกรุ๊ปอื่นปน

กรณีที่ 5 ฝ่ายหนึ่ง Group A อีกฝ่ายกรุ๊ป B จะเป็นได้ดังนี้
AA + BB =
ลูกได้ AB ร้อยเปอร์เซ็นต์(Gr AB ทั้งหมด)
AO + BB =
ลูกได้ AB ครึ่งนึง กับ BO ครึ่งนึง (Gr AB กับ Gr B อย่างล่ะครึ่ง)
AA + BO =
ลูกได้ AB กับ AO อย่างล่ะครึ่ง (Gr AB กับ Gr A อย่างล่ะครึ่ง)
AO+BO =
ลูกได้ AB ,AO, BO, OO อย่างล่ะ 25% ( มีได้ทุกกรุ๊ป อย่างล่ะ 25% )

กรณีนี้ จะเห็นได้ว่า ถ้าพ่อแม่ คนนึง Gr A อีกคน B จะมีลูกได้ ทุกกรุ๊ปเลย

กรณี 6 ฝ่ายหนึ่งกรุ๊ป A อีกฝ่าย AB จะเป็นได้ดังนี้
AA + AB
จะได้ลูก AA และ AB อย่างล่ะครึ่ง(ได้ลูกกรุ๊ป A และ AB อย่างล่ะครึ่ง) 
AO +AB
จะได้ลูก AA ,AO, AB, BO อย่างละ 25% (ได้ลูกกรุ๊ป A 50% และ กรุ๊ปAB กับ กรุ๊ป B อย่างล่ะ 25%)

กรณีนี้จะเห็นว่า ถ้า ฝ่ายหนึ่งเป็น A อีกฝ่ายเป็น AB จะได้ลูก กรุ๊ป A ,AB, B ได้ แต่ ไม่มีทางเป็น Gr O

กรณีที่ 7 ฝ่ายหนึ่ง AB อีกฝ่าย B จะเป็นได้ดังนี้
AB + BB
จะได้ลูก BB และ AB อย่างล่ะครึ่ง(ได้ลูกกรุ๊ป A และ AB อย่างล่ะครึ่ง) 
AB +BO
จะได้ลูก BB ,BO, AB, AO อย่างละ 25% (ได้ลูกกรุ๊ป B 50% และ กรุ๊ปAB กับ กรุ๊ป A อย่างล่ะ 25%)

กรณีนี้จะเห็นว่า ถ้า ฝ่ายหนึ่งเป็น AB อีกฝ่ายเป็น B จะได้ลูก กรุ๊ป A ,AB, B ได้ แต่ ไม่มีทางเป็น Gr O เหมือนกัน กับกรณีที่ 4

กรณีที่ 8 ฝ่ายหนึ่ง Gr AB อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
AB + OO
จะได้ AO กับ BO 

กรณีนี้จะได้ลูก กรุ๊ป A กับ B ไม่มี AB และ O

กรณีที่ 9 ฝ่ายหนึ่ง Gr A อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
AA + OO
ได้ AO ทั้งหมด (กรุ๊ป A ทุกคน)
AO + OO
ได้ AO กับ OO อย่างละ50% (

กรณีนี้จะได้ลูก Gr A กับ O อย่างล่ะครึ่ง ไม่มี กรุ๊ป B กับ AB

กรณีที่ 10 ฝ่ายหนึ่ง Gr B อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
BB + OO
ได้ BO ทั้งหมด (กรุ๊ป B ทุกคน)
BO + OO
ได้ BO กับ OO อย่างละ50% 

กรณีนี้จะได้ลูก Gr B กับ O อย่างล่ะครึ่ง ไม่มี กรุ๊ป A กับ AB

สรุปจากสิบกรณี ข้างบนมาให้ดูง่ายๆคือ
คนหมู่เลือด A +A      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
คนหมู่เลือด B+B       = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B,O
คนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด O+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกกรุ๊ป
คนหมู่เลือด A+AB   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด B+AB   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด AB+O   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ
คนหมู่เลือด A+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
คนหมู่เลือด B+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O

แต่ถ้าเราสามารถระบุไปถึง ระดับยีนส์ได้ ว่าเป็นตัวไหน ก็พยากรณ์ได้แคบลงตามตัวอย่างข้างบน (อาจจะดูได้โดยดูจากประวัติครอบครัว เช่น คนที่ Gr A หรือ Gr B ที่มาจาก พ่อแม่ ที่เป็น AB +AB ย่อมเป็น grA ที่มี ยีนส์ AA หรือ Gr B ที่มียีนส์ BB เป็นต้น 

"Blood Group"
ปกติกรุ๊ปเลือดจะรายงานผลออกมา เป็นสองระบบคือ
ABO System
และ Rh System โดยจำแนกตาม Antigen บนเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่

ในระบบ ABO จะแบ่งออกได้ สี่กรุ๊ปคือ A , B , AB และ O (Group O พบมากสุด ,A กับ B พบพอๆกัน และ AB มีน้อยที่สุด

ในระบบ Rh จะรายงาน ได้เป็นสองพวก
+ve
หรือ Rh+ve คือพวกที่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้มากเกือบทั้งหมด
  
ของคนไทยเป็นพวกนี้
-ve
หรือ Rh-ve คือพวกที่ไม่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้น้อยมาก 
  
คนไทยเราพบเลือดพวกนี้ แค่ 0.3% เป็นพวกที่บางครั้งเรียกว่า ผู้มีโลหิตหมู่พิเศษ จะพบได้มากขึ้นในชาวไทยซิกข์ (แต่ในคนพวกนั้น แม้ว่าจะมี Rh-ve มากกว่าคนไทยปกติ แต่ส่วนใหญ่ก็
ยังคงเป็นพวก Rh +veอยู่ดี)

ตัวอย่างการรายงานกลุ่มเลือดเช่น 
A+ve     
คือเลือดกรุ๊ปA Rh+ve ตามปกติ
AB -ve  
อันนี้เป็น กรุ๊ป AB และ เป็นหมู่เลือดพิเศษ Rh-ve ซึ่งหายากที่สุด 
ปกติ AB ในคนไทยพบน้อยกว่า 5% ถ้าเป็น AB-ve นี่ พบแค่ 1.5 คนใน หมื่นคนเท่านั้น

--------------------------------------------------------------------------------
ะบบหมู่เลือด Rh
เป็นระบบหมู่เลือดที่สำคัญรองลงมาจาก หมู่เลือด ABO    แอนติเจน Rh เป็นแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของ
คนที่เหมือนกับแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของลิง Rhesus
Landsteiner
และ Wiener เป็นผู้ค้นพบว่า rabbit antisera ต่อเม็ดเลือดแดงของลิง Rhesus สามารถ
ทำให้เม็ดเลือดแดงของคนส่วนใหญ่จับกลุ่มได้ คนเหล่านี่จัดว่าเป็นหมู่เลือด Rh +ve
ในระบบ Rh นี้ แอนติเจน D (antigenic determinant Rho) มีความสำคัญที่สุดในทางการแทย์ เป็น
แอนติเจนที่แรงกว่าแอนติเจนตัวอื่นในระบบเดียวกัน
เมื่อกล่าวถึงว่าเป็นหมู่เลือด Rh +ve หมายถึงบนผิวเม็ดเลือดแดงนั้นมี D-antigen อยู่ ส่วนหมู่เลือด Rh-ve
หมายถึงการไม่มี D-antigen บนผิวเม็ดเลือดแดง
นคนไทย ประมาณมากกว่า 99% เป็นหมู่เลือด Rh +ve
               
ประมาณ 1 : 500 เป็นหมู่เลือด Rh -ve
ในบ้านเราหมู่เลือด Rh ไม่ค่อยเป็นปัญหาในการให้เลือดเท่าใด และมักจะไม่ใช่เป็นสาเหตุและสาเหตุของโรค
hemolysis
ในทารกแรกเกิด  

ปัญหาของการให้เลือดในระบบ Rh
ปัญหาจะเกิดขึ้นได้กับคนที่มีหมู่เลือด Rh -ve ถ้าหากได้รับเลือดที่เป็นหมู่ Rh + ve เข้าไป ในครั้งแรกจะ
ยังไม่มีปฏิกริยาอะไรเกิดขึ้น แต่ร่างกายซึ่งเดิมไม่มีแอนติบอดีย์ต่อ D-antigen มาก่อน จะเริ่มสร้างแอนติบอดีย์
ต่อ D antigen ขึ้นมาในร่างกาย ต่อเมื่อมีการได้รับเลือดที่เป็น Rh+ve อีกครั้ง คราวนี้จะเกิดปฏิกริยาระหว่าง
D antigen
บนเม็ดเลือดแดงของผุ้ให้ (Donor) กับแอนติบอดีบ์ต่อ D antigen ที่เกิดขึ้นในร่างของผู้รับ
เกิดการจับกลุ่มเป็นตะกอนของเม็ดเลือด เกิดการแตกของเม็ดเลือดซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้รับเลือดได้

--------------------------------------------------------------------------------
ระบบหมู่เลือด Lewis (Lewis blood group)
เป็นระบบที่มีแอนติเจนแบบพิเศษต่างจากแอนติเจนอื่นๆของเม็ดเลือดแดงคือ มิได้เป็นส่วนของ Red cell
membrane
แต่จะเป็นแอนติเจนที่ละลายอยู่ในซีรั่มแล้วไปติดอยุ่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง ดังนั้นเม็ดเลือดแดง
ที่ไม่มีแอนติเจน Lewis เมื่อนำไปผสมกับซีรั่มที่มีแอนติเจน Lewis จะกลายเป็นเม็ดเลือดแดงที่มีแอนติเจน
Lewis
อยู่บนผิวเม็ดเลือดได้
แอนติเจน Lewis เกิดจากสาร precursor เดียวกันกับ H antigen  แอนติเจนในระบบนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด
คือ Lewis a (Le a) และ Lewis b (Le q) 
gene
ที่กำหนดให้มีแอนติเจน Lewis คือ Le gene ซึ่งเด่นกว่า le gene ดังนั้นในคนที่มีลักษณะยีน
 Le/Le  Le/le genotype
จะมีแอนติเจน Le ในซีรั่ม
 le/le genotype
จะไม่มีแอนติเจน Le ในซีรั่ม 


--------------------------------------------------------------------------------
การทดสอบความเข้ากันได้ที่ต้องทำก่อนมีการให้เลือ
1 -
การตรวจหาหมู่เลือด ทั้งของผุ้รับ (Receipt) และผู้ให้ (Donor) ประกอบด้วย
   - Cell grouping
หรือ Direct grouping
    
คือการเอาเม็ดเลือดแดงที่ต้องการทดสอบมาทำปฏิกริยากับซีรั่มมาตรฐานที่มี Anti-A และซีรั่มมาตรฐาน
    
ที่มี anti-B อยู่ มาผสมกันและดูการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดงในซีรั่มทั้งสองชนิด
   - Serum grouping
หรือ Indirect grouping เป็นการตรวจหา anti-A  และ Anti-B ในซีรั่ม โดย
    
การตรวจกับเม็ดเลือดแดงที่ทราบหมู่ที่แน่นอนทั้งหมู่ A, B , O ควรทำไปพร้อมกับแบบ cell grouping
    
เพื่อเพิ่มการยืนยันหมู่เลือด ป้องกันการผิดพลาด

เมื่อนำข้อมมูลการทดสอบทั้งวิธี cell grouping และ serum grouping มาแปลผลควรได้ผลตรงกัน
ตามตารางดังต่อไปนี้

Cell grouping
เม็ดเลือดทดสอบมาผสมกับ

Serum grouping
ซีรั่มไม่ทราบหมู่ผสมกับ

การแปลผลหมุ่เลือด

Anti-A
(
สีฟ้า)

Anti-B
(
สีเหลือง)

Cell gr.A

Cell gr.B

Cell gr.O

 

+

-

-

+

-

หมู่เลือด A

-

+

+

-

-

หมู่เลือด B

+

+

-

-

-

หมู่เลือด AB

-

-

+

+

-

หมู่เลือด O

 หมายเหตุ + หมายถึงมีการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดง / - หมายถึงไม่มีการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดง

2.
การตรวจความเข้ากันได้ของเลือดผู้รับและเลือดผู้ให้ (Cross matching)
ถึงแม้ว่าการหาหมู่เลือดจากข้อ 1 พบว่าเป็นหมู่เลือด ABO หมู่เดียวกันแล้วก็ตาม แต่ก่อนการให้เลือด (Blood
transfusion)
ก็จำเป็นต้องทำ Cross matching หรือ compatibility test อีก เพราะผู้รับอาจมี
แอนติบอดีย์ต่อหมู่เลือดอื่นที่เราไม่ได้ทำการทดสอบ โดยเฉพาะผู้ที่เคยได้รับเลือดมาแล้วหรือหญิงที่ผ่านการ
คลอดบุตรมาแล้ว การทำการทดสอบประกอบด้วย
 - Major cross matching
  
คือการทดสอบระหว่างเม็ดเลือดแดงของผู้ให้(Donor) กับซีรั่มของผู้รับ (Receipt)
  
เพื่อตรวจหาว่าในซีรั่มของผู้รับมีแอนติบอดีย์ต่อแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของผู้ให้ที่นอกเหนือไปจาก
   ABO antigen
หรือไม่
 - Minor cross matching
  
คือการทดสอบระหว่างซีรั่มของผู้ให้(Donor) กับเม็ดเลือดแดงของผู้รับ (Receipt)
  
เพื่อตรวจว่าในซีรั่มของผู้ให้มีแอนติบอดีย์ต่อแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของผู้รับนอกเหนือไปจากระบบ
   ABO antigen
หรือไม่
เลือดที่จะนำมาให้ผู้รับได้จะต้องไม่เกิดการจับกลุ่ม ตกตะกอน (hemaglutination) ใดๆ
ทั้งสิ้นทั้งในส่วนของ major และ minor cross matching
(
นอกจากนั้นยังต้องมีการตรวจความปลอดภัยของเลือดที่จะให้อื่นๆอีกด้วยเช่น ต้องไม่มี
 
เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี / ซี   เชื้อไวรัสเอดส์   กามโรค VDRL อื่นๆที่อาจติดต่อได้เป็นต้น)
 - Indirect Coombs' test
  
แม้ว่าจะไม่มีการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดงในการทำ cross matching แล้วก็ตาม ก็ยังมิได้หมายความว่า
  
ในซีรั่มของผู้รับและในซีรั่มของผู้ให้จะไม่มีแอนติบอดีย์ดังกล่าวอย่างแน่นอน เพราะแอนติบอดีย์อาจเป็น
  
ชนิดที่ไม่สามารถทำให้เม็ดเลือดแดงจับกลุ่มก็ได้ 
  
สำหรับการทดสอบนี้เป็นการทดสอบเพื่อหา incomplete antibody  ต่อแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง (ที่จะ
  
ให้) ในซีรั่มของผู้รับ ด้วยการเอาซีรั่มผู้รับมาทำปฏิกริยากับเม็ดเลือดแดงของผู้ให้ก่อน ล้างเม็ดเลือดแดงที่
  
อบเข้าด้วยกันแล้ว  นำมาเติม Coombs' reagent  ลงไป ถ้ามีการจับกลุ่มของเม็ดเลือด แสดงว่าในซีรั่ม
  
ผู้รับมี incomplete antibody ต่อแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงที่จะให้ หมายความว่าเลือดนั้นไม่เหมาะสม
  
ที่จะใช้เลือดดังกล่าวได้
--------------------------------------------------------------------------------
Immunological disease
จากการได้รับเลือด
ปฏิกริยาจากการได้รับเลือด (transfusion reaction) เป็นปฏิกริยาผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้จากการได้รับเลือด
สามารถแบ่งอาการที่เกิดขึ้นได้เป็น 2 พวกใหญ่ๆคือ
 - ปฏิกริยาทางภูมิคุ้มกันวิทยา Immune reaction
 - ปฏิกริยาที่ไม่ได้เกิดจากภูมิคุ้มกันวิทยา non immune reaction

ปฏิกริยาทางภูมิคุ้มกันวิทยา Immune reaction สามารถแบ่งย่อยอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้เช่น
1. Intravascular (major) hemolysis
  
มักเกิดจากการให้เลือดผิดหมู่ของระบบ ABO ( ABO incompatibility) ทำให้เกิด agglutination
  
การจับกลุ่มตกตะกอน และเกิด lysis การแตกของเม็ดเลือดแดงที่ให้เข้าไป การจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดง
  
ทำให้เกิดการอุดตันที่เส้นเลือดฝอยในอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย และปฏิกริยา antigen-antibody 
   complex
ทำให้เกิดการจับตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดทั่วร่างกาย ปฏิกริยาต่างๆข้าง
  
ต้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้รับเลือดมักจะเกิดอาการขึ้นในขณะที่กำลังได้รับเลือดอยู่ อาการที่เริ่มปรากฏให้เห็น
  
เป็นไข้ หนาวสั่น ร่วมกับมีอาการที่รุนแรงคือ แน่นและเจ็บหน้าอก ปวดหลัง ปวดขา เขียว ปัสสาวะไม่ออก
  
ช็อค เลือดออกง่าย อาการตัวเหลืองตาเหลือง
2. Extravascular hemolysis
  
เป็นปฏิกริยาที่พบได้เมื่อให้เลือดหมู่ Rh +ve ให้กับคนที่เป็นหมู่เลือด Rh -ve ที่มี anti-Rh antibody 
  
อยู่แล้ว มักไม่รุนแรงถึงขั้น intravascular hemolysis เพราะ Rh antibody ไม่สามารถกระตุ้นระบบ
  
คอมพลีเม้นท์ได้ การทำลายเม็ดเลือดแดงที่ให้เข้าไปเกิดจาก macrophage ในม้ามและตับ ผู้ที่ได้รับเลือด
  
ผิดกลุ่มเข้าไปจะมีอาการซีดเหลืองอย่างเห็นได้ชัด หลังจากได้รับเลือดผิดไปแล้วนานประมาณ 4-14 วัน
3. Anaphylaxis
  
พบได้ใน atopic person เกิดจากการแพ้สารบางอย่างที่มีอยู่ในเลือดของผู้ให้ ไม่ได้เกิดจากการให้เลือด
  
ผิดหมู่ อาการมักไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
4. Febrile reaction
  
อาการไข้ที่เกิดขึ้นจากการให้เลือด อาจพบร่วมใน intravascular hemolysis ที่ได้กล่าวมาแล้ว หรืออาจ
  
เกิดจากแบคทีเรียหรือ pyrogen ปะปนอยู่ในเลือดที่ให้ แต่สาเหตุที่สำคัญอีกอย่างที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ผู้รับ
  
มีแอนติบอดีย์ต่อ  human leukocyte antigen หรือ human platelet antigen (เกิดปฏิกริยาแพ้ต่อ
  
เม็ดเลือดขาว หรือ เกล็ดเลือด ในเลือดของผู้ให้)  ซึ่งมักพบได้ในคนที่เคยได้รับการถ่ายเลือดบ่อยมาหลายครั้ง
  
แล้ว หรือพบในคนที่ผ่านการคลอดลูกมาหลายครั้ง อาการที่พบได้มักเป็นแค่มีอาการหนาวสั่น และอาการไข้
  
เท่านั้น
5. Anti-IgA reaction
  
คนที่เป็น selective IgA deficiency หรือบางรายของ hypogamaglobulinemia อาจสร้าง
   anti-IgA antibody
ขึ้นได้ เมื่อได้รับเลือดที่มี IgA จากการได้รับในครั้งแรกจะยังไม่เกิดอาการ แต่เมื่อได้
  
รับในครั้งต่อไปจึงจะแสดงอาการขึ้น ในบางรายอาจเกิดอาการเพียงคล้ายลมพิษ (urticaria) แต่ในบางราย
  
อาจเกิดถึงขั้น anaphylactic shock ถึงขั้นเสียชีวิตได้
6. Graft versus host reaction
  
การให้เลือดแก่คนที่มีเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte น้อยหรือในคนที่มี immunodeficiency viable
  lymphocyte
ที่ติดเข้าไปกับเลือด อาจทำให้เกิดลักษณะ graft versus host reaction ขึ้นได้


-
ปฏิกริยาที่ไม่ได้เกิดจากภูมิคุ้มกันวิทยา non immune reaction
1. Acute bacterial infection
  
เชื้อแบคทีเรีย แกรมลบบางชนิด เช่น pseudomonas, achromobactor, coliform สามารถเจริญได้
  
ในที่อุณหภูมิต่ำที่ใช้เก็บเลือด การให้เลือดที่มีเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้อยู่จะทำให้ผู้ได้รับเลือดเกิดอาการของ
   endotoxin shock
ได้
2. Infectious disease
  
โรคติดเชื้อบางชนิดที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการได้รับเลือดเช่น serum hepatitis (ตับอักเสบ บี / ซี),
   cytomegalovirus, mononucleosis, malaria, syphilis, brucellosis
เป็นต้น ปัจจุบันได้มี
  
การตรวจคัดกรองโรคติดต่ออันตรายที่พบได้บ่อยก่อนการให้เลือด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้รับเลือด  
  
เช่น HIV, Hepatitis, Syphilis เป็นต้น
3. Post transfusion pulmonary insufficiency
  
เลือดที่เก็บไว้นานๆ (ปกติเลือดที่เจาะตอนบริจาคโลหิต จะใส่ในถุงหรือขวดที่มีน้ำยาป้องกันการแข็งตัวของ
  
เลือดอยู่ หลังจากเจาะแล้วจะมีอายุในการให้เลือดนานประมาณ 21 วัน แต่เลือดยิ่งนานออกไปก็จะสู้เลือดที่ได้
  
มาใหม่ไม่ได้) fibrin, leukocyte, platelet อาจเกาะกันเป็นก้อนเล็กๆ (microaggregates) เมื่อให้
  
เข้าไปในร่างกาย ก้อนๆเหล่านั้นอาจไปอุดตันที่บริเวณเส้นเลือดฝอย small arteriole และ capillary ใน
  
ปอด จะไปขัดขวาง alveolar-capillary diffusion ทำให้เกิดอาการ hypoxia ได้ 

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.thailabonline.com/bloodgroup.htm



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด







dot
dot
bulletน้ำผัดไทสำเร็จรูป
bulletรับจัดงานเลี้ยง งานเวที
bulletรับประทานอาหารอย่างไร? ให้เหมาะกับกรุ๊ปเลือด
bulletความรู้เรื่อง กรุ๊ปเลือด


www.monatfood.com


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
EntryKitchen 23/4 ถ.ริมทางรถไฟตะวันตก ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม โทร. 034-241888 แฟกซ์ 034-216226 คุณหนึ่ง 088-8672522 contact E-mail: support@monatfood.com